เกี่ยวกับสร้างสรรค์ปัญญา​

Open Data สร้างคุณค่าสู่สังคม

รู้จักกับสร้างสรรค์ปัญญา

ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม ได้เริ่มดำเนินงานภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 โดยมีการวางยุทธศาสตร์ในการทำงานช่วงปี 2546 – 2549 มุ่งเน้นเรื่องการเสริมสร้างแนวคิดและกระบวนการดำเนินงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับแกนนำชุมชนและภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม เน้นการขับเคลื่อนงานในกลุ่มประเด็น “ชุมชนกับการจัดการทรัพยากร” ที่มีความสอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ในพื้นที่ควบคู่กับการขยายพื้นที่การเรียนรู้สู่การพัฒนาโครงการวิจัยใหม่ให้ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม และขยายสู่พื้นที่จังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ช่วงปี

2550 – 2553

ศูนย์ประสานงานฯ ได้ริเริ่มขยับงานในเชิงการบูรณาการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสู่หน่วยงาน/องค์กรและภาคีเครือข่ายในพื้นที่เป้าหมาย โดยการสร้างรูปธรรมโครงการวิจัยที่มีการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชน ภาคี หน่วยงาน/องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ โครงการวิจัย “การศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพในการทำงานของสถานประกอบการจังหวัดสมุทรสงคราม” ที่ทีมวิจัยประกอบด้วย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสงคราม  สถานประกอบการในจังหวัดสมุทรสงคราม  สโมสรโรตารี่ สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มูลนิธิศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และหอการค้าจังหวัด ซึ่งผลจากการดำเนินงาน ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางทั้งในระดับหน่วยงานในพื้นที่ (ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสงคราม) 

ช่วงปี

พ.ศ.2554 - 2557

ศูนย์ประสานงานฯ ได้มีการขับเคลื่อนงานใน 4 ภารกิจหลัก คือ 1) การสร้างงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่มีคุณภาพ ผ่านการพัฒนาโจทย์วิจัย การติดตามหนุนเสริมงานวิจัยในช่วงขาขึ้นและขาลง  2) การพัฒนากลไกพี่เลี้ยงและเครือข่ายนักวิจัย 3) การบูรณาการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในลักษณะของ Co-funding และ Co-working  4) การศึกษา/สังเคราะห์องค์ความรู้ประเด็นการศึกษา ทรัพยากรธรรมชาติ และประเด็นสวัสดิการและสุขภาวะ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับกระแสโลกาภิวัฒน์และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงชุมชนชนท้องถิ่นทั้งในด้านบวกและลบในปี 2558 ดังนั้นการวางรากฐานเรื่องการศึกษาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้แก่เยาวชนในทุกระดับ รวมถึงการเตรียมพร้อมในเรื่องการจัดการทรัพยากรเพื่อให้คนในชุมชนท้องถิ่นตระหนักและเห็นความสำคัญของบริการและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้กระแสความเปลี่ยนแปลง / การพัฒนาที่นับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ในส่วนของประเด็นสวัสดิการและสุขภาวะชุมชนเป็นการเตรียมความพร้อมชุมชนเพื่อรองรับประเด็นปัญหาผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากการที่สังคมในพื้นที่จังหวัดจะมีประชากรผู้สูงอายุที่มีอายยืนขึ้นจากบริหารด้านสาธารณสุขที่ดีขึ้น รวมทั้งปัญหาดังกล่าว ชุมชนจะต้องปรับตัวอย่างไร ให้บูรณาการการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดภายใต้ข้อมูล / ความรู้ได้อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทพื้นที่และสถานการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจากชุดประสบการณ์ที่ทางศูนย์ประสานงาน ฯ ได้มีบทเรียนจากงานวิจัยในช่วงเวลาที่เวลาที่ผ่านจะเป็นฐานในการขยายการรับรู้และเตรียมความพร้อมชุมชนท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น 

ช่วงปี

พ.ศ.2558

ศูนย์ประสานงานฯ ได้ริเริ่มขยับงานในเชิงการบูรณาการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสู่หน่วยงาน/องค์กรและภาคีเครือข่ายในพื้นที่เป้าหมาย โดยการสร้างรูปธรรมโครงการวิจัยที่มีการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชน ภาคี หน่วยงาน/องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ โครงการวิจัย “การศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพในการทำงานของสถานประกอบการจังหวัดสมุทรสงคราม” ที่ทีมวิจัยประกอบด้วย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสงคราม  สถานประกอบการในจังหวัดสมุทรสงคราม  สโมสรโรตารี่ สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มูลนิธิศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และหอการค้าจังหวัด ซึ่งผลจากการดำเนินงาน ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางทั้งในระดับหน่วยงานในพื้นที่ (ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสงคราม) แต่ภายใต้เงื่อนไขการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ที่ให้การสนับสนุนศูนย์ประสานงาน ฯ อยู่นั้นเพียงลำพัง ไม่สามารถทำให้มีการขยายงานและการเพิ่มบุคคลากรเพิ่มขึ้นได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพได้ จึงได้มีการหารือกันในเครือข่ายและคณะทำงานของศูนย์ประสาน ฯ เพื่อหาทางออกในเรื่องเหล่านี้ ประกอบกับในปัจจุบันได้มีการก่อเกิดกิจการที่เรียกว่า “กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ซึ่งเป็นกิจการที่มีรายได้จากการผลิตหรือจัดจำหน่ายสินค้าหรือบริการ โดยมีเป้าหมายของกิจการที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก

ก่อตั้งบริษัท

วันที่ 8 มกราคม 2559

ศูนย์ประสานงาน ฯ จึงได้ริเริ่มจัดตั้งกิจการเพื่อสังคมขึ้น ภายใต้การจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ในนาม “บริษัท สร้างสรรค์ปัญญา จำกัด” โดยมีวัตถุประสงค์ของบริษัทเพื่อดำเนินงานของกิจการเพื่อสังคม มุ่งเน้นเป้าหมายทางสังคม สิ่งแวดล้อม และการเงินไปพร้อม ๆ กัน โดยเป้าหมายทางการเงิน เช่น การสร้างรายได้นั้น มีขึ้นเพื่อเพิ่มผลประโยชน์ของสังคมหรือสิ่งแวดล้อม

เจตจำนงของบริษัทสร้างสรรค์ปัญญา

“สร้าง Smart people ในการขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การเป็น Smart community

1. บริการให้คำปรึกษาและฝึกอบรมโดยให้คำปรึกษาเรื่องการสร้างพื้นที่เรียนรู้ (learning space)

และบริการออกแบบการวัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชุมชนและการทำงานวิจัย

2. ประกอบกิจการซื้อขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของชุมชนโดยเป็นช่องทางในการขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน

รวมทั้งทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการบริหารจัดการกลุ่ม

3. บริการถอดบทเรียนและจัดทำสื่อสาธารณะ

โดยเป็นกระบวนการถอดบทเรียนแบบเสริมพลังและผลิตสื่อทั้งในรูปแบบการจัดทำหนังสือ อินโฟกราฟฟิก คลิปวีดีโอ

4. สื่อสารความรู้และสถานการณ์ทางสังคม

แปรรูป พัฒนาผลิตภัณฑ์ ร่วมกับชุมชน สถานประกอบการ สถาบันการศึกษา

VISION

มุ่งสร้าง Smart Community

Solution

แก้ไขปัญหาและค้นหาทางออกด้วยตัวเอง

Management

มีทักษะการจัดการและบริหารโครงการ

Action/Move

เรียนรู้ผ่านการลงมือ ปฏิบัติจริง

Research

ใช้กระบวนการวิจัยในการค้นหาคำตอบในการแก้ปัญหา

Technology

นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้เหมาะสม

พื้นที่ชุมชนวิจัยต้นแบบของ บริษัท สร้างสรรค์ปัญญา จำกัด

การจัดการทรัพยากร

ตำบล คลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
ตำบล บางสะแก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
ตำบล เขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
ตำบล แพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ท่อทองแดง จังหวัดกำแพงเพชร
ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

สวัสดิการชุมชน

ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

กลไกปกป้องคุ้มครองทางสังคม

ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

สุขภาพ

ตำบลคอทราย อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

ติดต่อสร้างสรรค์ปัญญา

ติดต่อเรา