หัวใจของการศึกษาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม

Aom Anchana

Aom Anchana

หัวใจของการศึกษาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม

1_การเรียนรู้จากชาวบ้าน เรายึดหลักการเรียนรู้จากชาวบ้านโดยตรง ถือว่าชาวบ้านเป็นครู โดยเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจและชุมชน

2_เน้นการสร้างความสัมพันธ์ และการทำความรู้จักต้นทุนในชุมชน ไม่รีบกระโจนเข้าไปที่เนื้อหาที่เราอยากได้ แต่เน้นลงไปพูดคุยเรื่องราวดี ๆ และศึกษาต้นทุนของชุมชน เมื่อเกิดความสัมพันธ์ข้อมูลที่เราต้องการจะมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

3_การเรียนรู้และค้นหาความจริงอย่างจริงจัง โดยคำนึงถึงความยืดหยุ่นของวิธีการการใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์ การทำตัวอย่าง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การถามซ้ำ การตรวจสอบ ความถูกต้อง ทั้งนี้ไม่ยึดรูปแบบและวิธีการที่ตายตัว แต่ปรับตัวให้เข้ากับกระบวนการเรียนรู้ที่กำลังดำเนินอยู่

4_การเรียนรู้จากการปฏิบัติ มองความผิดพลาดจากการเรียนรู้เป็นบทเรียนสำหรับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

5_ฟังให้มากพูดให้น้อย เรามักจะมีสมมติฐานของเราต่อการเรียนรู้หนึ่ง ๆ ในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดการเรียนรู้ที่ผิดพลาดได้ ดังนั้น เราจึงควรยึดหลักการฟังให้มาก พูดแต่น้อย ไม่รีบร้อนแต่เรียนรู้อย่างชัดเจนและตามสบาย ไม่ยึดเอาตัวเองเป็นสำคัญและการสั่งการ

6_การจัดความสมดุล ไม่ใช้เงินเป็นตัวตั้งในการเชิญชวนคนเข้าร่วมประชุม แต่เน้นความเป็นเจ้าของร่วม การทำให้คนในชุมชนเป็นเจ้าของปัญหาของเขาเอง

7_ความหลากหลาย เรายึดหลักการแสวงหาความแตกต่างมากกว่าการใช้ค่าเฉลี่ย เน้นการทำงานที่ลงไปปฏิสัมพันธ์กับชุมชนควบคู่ไปกับการได้มาซึ่งข้อมูล ไม่เน้นคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่มองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันของทุกกลุ่มคนในชุมชน

8_จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก และกระตุ้นให้ชาวบ้านทำการศึกษาค้นคว้าเอง วิเคราะห์เอง และเสนอผลการศึกษาเอง การกระทำดังกล่วเป็นกระบวนการที่ชาวบ้านได้เรียนรู้เรื่องราวที่ทำการศึกษาและมีความรู้สึกเป็นเจ้าของสิ่งที่เขาค้นพบ เราอาจจะมีความจำเป็นในระยะเริ่มแรกของกระบวนการเรียนรู้ หลังจากนั้นเราจะถอยไปอยู่ข้างหลังหรือเลี่ยงไปที่อื่น โดยไม่มีการสัมภาษณ์หรือขัดจังหวะในขณะที่ชาวบ้านกำลังดำเนินการ โดยสรุป อาจกล่าวได้ว่า เราจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้วิจัยหรือผู้ค้นหาข้อเท็จจริงเป็นผู้อำนวยความสะดวก

9_ความตื่นตัวและความรับผิดชอบต่อการตรวจสอบข้อบกพร่อง เราเป็นผู้อำนวยความสะดวกจะตรวจสอบพฤติกรรมของตัวเองตลอดเวลาและมีความพยายามที่จะทำให้ดีขึ้น

10_การเรียนรู้จากกันและกัน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวคิดระหว่างชาวบ้านด้วยกันเอง ระหว่าง ชาวบ้านและบุคคลภายนอก นอกจากนี้ควรมีการแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานในเรื่องการอบรมเชิงปฏิบัติการหรือการดำเนินกิจกรรมในชุมชน

Related Content

สาระทั่วไป
สร้างสรรค์ปัญญา

สอจร. News.

การพัฒนาศักยภาพทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนงานอำเภอเสี่ยงภัยทางถนนในรถจักรยานยนต์ ครั้งที่ 1